lottoup หวยออนไลน์
365kub คาสิโนออนไลน์

พีธีอันเป็นมงคลประจำปีในเดือนพฤษภาคมที่เกิดขึ้นทุก ๆ ปี นั่นก็คือ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นของฤดูกาลเพาะปลูกพืชพรรณธัญญาหาร เป็นหนึ่งในพิธีที่สร้างขวัญกำลังด้านความเป็นสิริมงคลให้กับชาวเกษตรกร การกำหนดวันสำคัญนี้ในแต่ละปีจะไม่ตรงกันเนื่องจากต้องดูกฤษ์ยามให้ถูกต้องเป็นไปตามอุดมกฤษ์ตามตำราโหราศาสตร์

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เริ่มครั้งแรกมาตั้งแต่รัชสมัยกรุงสุโขทัย เป็นราชพิธีหนึ่งที่มีความเก่าแก่อย่างมาก และมีความสำคัญต่อประเทศไทยด้วยเพราะว่าเมืองไทยของเรานั้นเป็นประเทศแห่งเกษตรกรรม มีอาชีพเพาะปลูกเป็นหลัก การประกอบพิธีได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย

ในช่วงปีประมาณปี พ.ศ. 2408 ได้หยุดประกอบราชพิธีไป และได้กลับมาจัดราชพิธีขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2503 ในงานพระราชพิธีนั้นจะมี 2 พิธี ทำร่วมกัน ได้แก่ พิธีพืชมงคล และ พิธีแรกนาขวัญ

พิธีพืชมงคล ในพิธีนี้จะเป็นการทำพิธีทำขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบพิธี ตัวอย่างเช่น ข้าวเปลือก ข้าวเหนี่ยว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่ว งา เผือก มัน เป็นต้น เหตุผลที่ประกอบพิธีพืชมงคลก็เพื่อให้พันธุ์พืชเหล่านี้อุดมสมบูรณ์ เจิรญงอกงามด้วยดี และปราศจากโรคต่าง ๆ

พิธีแรกนาขวัญ ในพิธีนี้เป็นการเริ่มต้นจากการไถนาเพื่อเตรียมหว่านเมล็ดข้าว การประกอบพิธีแรกนาขวัญนี้เป็นสัญญาณบอกว่า ณ บัดนี้ ถึงฤดูกาลแห่งการทำไร่ ทำนา และการเพาะปลูกได้เริ่มต้นแล้ว

นอกจากนี้แล้วเพื่อให้พระราชพิธีครบบริบูรณ์ในการประกอบพิธีนั้นยังประกอบด้วย พระยาแรกนา เทพีทั้งสี่ พระโค และสิ่งของที่ใช้ในการเสี่ยงทาย

พระยาแรกนาขวัญคือใคร

พระยาแรกนา ในพิธีก่อนนั้นพระยาแรกนานั้นจะเป็น อธิบดีกรมการข้าว แต่ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงตกเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในระดับ 3 – 4 หรือ ชั้นโทขึ้นไป

เทพีทั้งสี่มาจากไหน

เทพีทั้งสี่ ในราชพิธีก่อนนั้นจะมาจากการคัดเลือกภริยาชั้นของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยให้เป็นการพิจารณาคัดเลือกจากข้าราชการหญิงที่โสดในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

พระโคเข้าพิธีมาจากไหน

สำหรับพระโคที่เข้าพระชพิธีนั้นจะถูกเลี้ยงดูอย่างดีอยู่ที่จังหวัดราชบุรี ลักษณะของพระโคที่จะเข้าในราชพิธีนั้นต้องมีลักษณะที่ดีจะขาก หรือเกินไปไม่ได้ โดยพระโคที่มีลักษณะดีต้องประกอบไปด้วยดังนี้ รูปร่างสมบูรณ์มีความสูงไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร ความยาวของลำตัวไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร ความสมบูรณ์รอบอกไม่น้อยกว่า 180 เซนติเมตร

โคทั้งคู่จะต้องมีสีเดียวกันผิวสวย ขนเป็นมัน กิริยามารยาทเรียบร้อย ฝึกง่าย สอนง่าย ไม่ดุร้าย เขามีลักษณะโค้งสวยงามเท่ากัน ตาแจ่มใส หูไม่มีตำหนิ หางยาวสวยงาม มีขวัญทัดดอกไม้ซ้ายขวาและขวัญหลังถูกต้องตามลักษณะที่ดี กีบและข้อเท้าแข็งแรง ถ้ามองดูด้านข้างของลำตัวจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมและสุดท้ายต้องเป็นโคเฉพาะเพศผู้ที่ผ่านการตอนมาแล้วเท่านั้น

ของที่ใช้เสี่ยงทายประกอบด้วยอะไรบ้าง

ผ้านุ่ง

สำหรับผ้านุ่งที่พระนาแรกนาจะใช้ในการเสี่ยงทายนั้นจะมีทั้งหมด 3 ผืน โดยแบ่งเป็นความยาวของแต่ละผืนและคำทำนายแต่ละผืนมีดังนี้

  • ผ้า 4 คืบ : พยากรณ์ได้ว่า น้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่มอาจจะเสียหายบ้างได้ผลไม่เต็มที่
  • ผ้า 5 คืบ : พยากรณ์ได้ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์และผลาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี
  • ผ้า 6 คืบ : พยากรณ์ได้ว่า น้ำจะน้อยนาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอนจะเสียหายบ้างไม่ได้ผลเต็มที่

ของกินเสี่ยงทาย 7 สิ่ง

สำหรับของกินทั้ง 7 สิ่งนี้จะถูกเสี่ยงทายโดยการกินจากพระโค คำทำนายจะของกินจะมีดังนี้

  • พระโคกินข้าว หรือข้าวโพด พยากรณ์ได้ว่า ธัญญาหาร ผลาหารจะบริบูรณ์ดี
  • พระโคกินถั่ว หรืองา พยากรณ์ได้ว่า ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
  • พระโคกินน้ำ หรือหญ้า พยากรณ์ได้ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร และมังสาหารจะอุดมสมบูณณ์ดี
  • พระโคกินเหล้า พยากรณ์ได้ว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้นทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง

กำหนดวันพืชมงคลในปีที่ผ่านมา

  • พ.ศ. 2552 ตรงกับ จันทร์ที่ 11 พฤษภาคม (แรม 3 ค่ำเดือน 6)
  • พ.ศ. 2553 ตรงกับ พฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม (แรม 15 ค่ำเดือน 6)
  • พ.ศ. 2554 ตรงกับ ศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม (ขึ้น 11 ค่ำเดือน 6)
  • พ.ศ. 2555 ตรงกับ พุธที่ 9 พฤษภาคม (แรม 4 ค่ำเดือน 6)
  • พ.ศ. 2556 ตรงกับ จันทร์ที่ 13 พฤษภาคม (ขึ้น 4 ค่ำเดือน 6)
  • พ.ศ. 2557 ตรงกับ ศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม (ขึ้น 11 ค่ำเดือน 6)
  • พ.ศ. 2558 ตรงกับ พุธที่ 13 พฤษภาคม (แรม 11 ค่ำเดือน 6)
  • พ.ศ. 2559 ตรงกับ จันทร์ที่ 9 พฤษภาคม (ขึ้น 4 ค่ำเดือน 6)
  • พ.ศ. 2560 ตรงกับ ศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม (แรม 2 ค่ำเดือน 6)
  • พ.ศ. 2561 ตรงกับ จันทร์ที่ 14 พฤษภาคม (แรม 15 ค่ำเดือน 6)
  • พ.ศ. 2562 ตรงกับ พฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม (ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6)
  • พ.ศ. 2563 ตรงกับ จันทร์ที่ 11 พฤษภาคม (แรม 5 ค่ำ เดือน 6)

สรุป

สำหรับงาน พระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ได้ถูกงดไปเพราะเนื่องด้วยสถานการณ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 และเมื่อสถานการณ์นี้ได้ปลอดภัยแล้วเราคงจะได้เห็นการสืบสานประเพณี พระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ นี้กันอีกครั้งในปีหน้า

ไม่ว่าสถานการณ์ในประเทศไทยจะเป็นอย่างไรก็ขอให้ประชาชนชาวไทยคอยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างขวัญกำลังใจให้แก่กันทุกอาชีพ ทุกชนชั้น เพื่อที่จะก้าวข้ามผ่านสถานการณ์ที่ไม่ดีไปด้วยกัน

บทความแนะนำ

ปาฏิหาริย์ บูชา ‘สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช’ ช่วยปลดหนี้ ค้าขาย ร่ำรวย

ตำนานแม่น้ำโขง ลำน้ำแห่งชีวิตที่มีความอุดมสมบูรณ์ไม่เปลี่ยนแปลง

คาถาบูชาพระพุทธชินราช พระศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองพิษณุโลก