lottoup หวยออนไลน์
365kub คาสิโนออนไลน์

ประเทศไทยเราเป็นเมืองแห่งพุทธะ เราจะเห็นได้วัดในประเทศไทยนั้นมีเยอะแยะมากมายหลายแห่ง ต้องบอกเลยว่ามี วัดศักดิ์สิทธิ์ ทุกจังหวัด แต่จะมีใครทราบบ้างมั๊ยว่าพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีของไทยเรานั้นมีวัดศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นวัดประจำรัชกาลอยู่ด้วย

วันนี้เรามาทำความรู้จักเพิ่มพูนความรู้ถึงวัดที่มีความสำคัญต่อพระมหากษัตริย์ไทยแห่งราชวงศ์จักรี ประจำรัชกาลที่ ๑ – ๑๐ เผื่อว่าจะใช้เป็นเส้นทางไหว้พระ ๙ วัด เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล ความรุ่งเรืองให้กับตัวเอง

วัดประจำรัชกาลที่ ๑ : วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร20

วัดโพธิ์
วัดประจำรัชกาลที่ ๑ /20

หรือเรียกกันตามภาษาชาวบ้านว่า “วัดโพธิ์” เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นเอกเก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุทธยา จากหลักฐานในศิลาจารึกได้บันทึกไว้ว่า เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงสถาปนาพระบรมมหาราชวังแล้ว ทรงมีพระราชดำริถึงวัดเก่าที่อยู่ทั้งสองด้านของพระราชวัง ทางด้านเหนือ “วัดสลัก”(วัดมหาธาตุฯ) และทางด้านใต้ “วัดโพธาราม” ให้ช่างสิบหมู่ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์

เมื่อแล้วเสร็จ ทรงพระราชทานนามใหม่เป็น “วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาวาศ” ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดฯ ให้เปลี่ยนท้ายนามใหม่เป็น “วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม” ที่ใต้พระแท่นประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อยู่ด้วย จึงทำให้ภายหลังวัดแห่งนี้ถือได้ว่าเป็นพระอารามหลวงประจำรัชกาลที่ ๑

วัดประจำรัชกาลที่ ๒ : วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร

วัดอรุณ
วัดประจำรัชกาลที่ ๒

เดิมทีที่วัดแห่งนี้ คือ “วัดมะกอก” เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระราชประสงค์ย้ายราชธานีมาตั้งที่ กรุงธนบุรี ได้เสด็จล่องมาทางชลมารคจนมาถึงวัดมะกอกเมื่อตอนรุ่งอรุณพอดีจึงทรงเปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดแจ้ง เพื่อเป็นอนุสรณ์

เมื่อครั้งมาถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ได้ทรงทำการปฏิสังขรณ์วัดต่อจาก รัชกาลที่ ๑ จนเสร็จ อีกทั้งยังทรงปั้นหุ่นพระพุทธรูปด้วยฝีพระหัตถ์ และได้หล่อขึ้นเป็นพระประธานขึ้นประดิษฐานในพระอุโบสถ จากนั้นได้มีการฉลองสมโภชวัด โปรดพระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม”

ที่วัดอรุณฯ แห่งนี้ได้มีการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้งในรัชกาลที่ ๓ แต่ยังมิทันได้มีงานฉลองสมโภชก็สิ้นรัชกาลที่ ๓ เสียก่อน ครั้งมาถึงในรัชสมัยของในหลวงรัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดให้มีการปฏิสังขรและสร้างสิ่ง ต่าง ๆอีกหลายอย่าง เพิ่มขึ้นใหม่อีกครั้ง และยังได้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มาบรรจุที่พระอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถ จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”

วัดประจำรัชกาลที่ ๓ : วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร

วัดจอมทอง
วัดประจำรัชกาลที่ ๓

ชื่อเดิม คือ “วัดจอมทอง” เป็นวัดพระอามรามหลวงชั้นเอกเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุทธยา ในครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์(พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓) คุมทัพไปขัดตาทัพทางเจดีย์สามองค์ เคยได้เสด็จประทับแรมที่หน้าวัดจอมทอง และได้ทรงทำพิธีเบิกโขลนทวาร ตามตำราพิชัยสงคราม ทรงอธิษฐานให้ประสบผลสำเร็จและกลับมาโดยสวัสดิภาพ แต่สุดท้ายแล้วทัพพม่าไม่ได้มา

หลังจากเสด็จกลับมาถึงพระนครจึงโปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่ทั้งวัด และถวายเป็นพระอารามหลวง ในหลวงรัชกาลที่ ๒ โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดราชโอรส” ซึ่งหมายถึง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์(พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓) นั่นเอง เนื่องจากพระองค์ทรงโปรดศิลปะจีน จึงทำให้สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมต่าง ๆ ที่วัดนี้จึงผสมผสานกันระหว่างไทยกับจีน

วัดประจำรัชกาลที่ ๔ : วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

วัดราชประดิษฐสถิตธรรมยุติการาม
วัดประจำรัชกาลที่ ๔

เดิมนั้นชื่อ “วัดราชประดิษฐสถิตธรรมยุติการาม” เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามพระราชประเพณีเป็นอารามหลวงของพระมหากษัตริย์ และทรงรับเข้าอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของกษัตริย์ทุกพระองค์ เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม” อีกสิ่งหนึ่งที่สร้างก็เพื่ออุทิศถวายแด่พระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกายโดยเฉพาะ

วัดประจำรัชกาลที่ ๕ และ ๗ : วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

วัดราชบพิธ
วัดประจำรัชกาลที่ ๕ และ ๗

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม” เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ที่ในหลวงรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์ การสร้างผสมผสานศิปกรรมของวัดพระปฐมเจดีย์กับวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ภายในบริเวณวัดได้แบ่งออกเป็น 3 เขตคือ เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และ เขตสุสานหลวง อีกทั้งวัดนี้ยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๗ เนื่องจากในสมัยของพระองค์ไม่ได้มีการสร้างวัดเลย แต่พระองค์ท่านได้ทรงทำนุบำรุงและบูรณปฏิสังขรณ์ที่วัดราชบพิธนี้ จึงเป็นวัดประจำพระองค์ด้วยเหมือนกัน

วัดประจำรัชกาลที่ ๖ และ ๙ : วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร

วัดใหม่
วัดประจำรัชกาลที่ ๖ และ ๙

แต่เดิมคือ “วัดใหม่” อยู่ใกล้กับวัดรังษีสุทธาวาส ถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ แต่ยังไม่เสร็จ ในหลวงรัชกาลที่ ๓ ได้สิ้นพระชนม์ก่อน เมื่อมาถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ได้ทรงให้ยุบรวมกับวัดรังษีสุทธาวาทเข้ากับวัดบวรนิเวศวิหาร ทำให้ที่วัดแห่งนี้การสร้างที่ผสมผสานกันระหว่างศิลปะไทยกับจีนรวมเข้าด้วยกัน

ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปสำคัญอยู่มากมาย ทั้งนี้ยังเป็นวัดที่ในหลวงรัชกาลที่ ๖ รัชกาลที่ ๗ และรัชกาลที่ ๙ ได้ทรงผนวช วัดบวรนิเวศจึงเป็นวัดที่สำคัญมากอีกแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรังคารของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อีกด้วยจึงถือได้ว่าเป็นวัดประจำพระองค์ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ด้วยเช่นกัน

วัดประจำรัชกาลที่ ๘ : วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร

วัดสุทัศน์
วัดประจำรัชกาลที่ ๘

“วัดสุทัศนเทพวราราม” เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ที่วัดแห่งนี้พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงโปรดเกล้าให้สถาปนาขึ้นมา แต่สร้างค้างไว้เพียงรากพระวิหาร เมื่อมาถึงในรัชสมัยของรัฃนหลวงรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างใหม่ขึ้นทั้งหมด และได้ปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมขึ้นใหม่อีกครั้งในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕

อีกทั้งที่วัดนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ได้ถูกอัญเชิญมาบรรจุที่หน้าพุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนี อีกด้วย

วัดประจำรัชกาลที่ ๙ : วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก

วัดพระราม ๙
วัดประจำรัชกาลที่ ๙

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระราชดำริให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรีถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธสถานในการประกิจของสงฆ์ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของราษฎรที่ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน วัดนี้เป็นวัดขนาดเล็กที่ถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นแบบอย่างของความพอเพียง เรียบง่ายที่สุด มีส่วนของการก่อสร้างเท่าที่จำเป็นคำนึงถึงประโยชน์การใช้สอยเป็นสำคัญ

วัดประจำรัชกาลที่ ๑๐ : วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร

วัดทุ่งสาธิต
วัดประจำรัชกาลที่ ๑๐

เดิมวัดนี้ชื่อว่า “วัดทุ่งสาธิต” เดิมทีนั้นวัดนี้เคยปล่อยให้เป็นวัดร้างมาก่อน เนื่องด้วยท่านเจ้าอาวาสองค์สุดท้ายได้มรณภาพลงไม่มีใครสืบต่อ เพราะด้วยในสมัยก่อนที่ตั้งของวัดอยู่ห่างไกลความเจริญ เป็นทุ่งเสียส่วนใหญ่ ในปีพ.ศ. ๒๕๐๖ อดีตเจ้าอาวาสพระโสภณวชิรธรรม ได้เข้ามาบูรณะ จึงกลับมาเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อีกครั้ง

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล (ดำรงพระบรมราชอิสริยยศรัชกาลที่ ๙) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ (ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐) ทรงรับวัดทุ่งสาธิต ไว้ในพระอุปถัมภ์ และได้พระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า “วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร”

สรุป

บทความนี้เป็นเพียงประวัติของ วัดศักดิ์สิทธิ์ เพียงคร่าว ๆ เท่านั้น วัดต่าง ๆ นั้นต่างมีความสำคัญทั้งทางพระพุทธศาสนาและรวมทั้งประวัติศาสตร์ของไทย รวมถึงพระมหากษัตตริย์ในราชวงศ์จักรีอีกด้วย สามารถที่จะใช้เป็นแนวทางในการวางแผน ไหว้พระ ๙ วัด ในกรุงเทพ เพื่อสักการะขอพร อีกทั้งยังได้ชมศิลปะความสวยงามของวัดอีกด้วย

บทความแนะนำ