lottoup หวยออนไลน์
365kub คาสิโนออนไลน์

ประวัติสมเด็จพระสังฆราช ในรัชกาลที่ 10

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ พระนามเดิมคือ อัมพร ประสัตถพงศ์ มีฉายาว่า ‘อมฺพโร’ เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์แรกในรัชกาลที่ 10 หรือองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันสิริอายุ 92 ปี เป็นเจ้าอาวาสของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 14-15 (ธรรมยุต) กรรมการมหาเถรสมาคม และแม่กองงานพระธรรมทูต

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2470 ตรงกับแรม 12 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ บ้านเกิดอยู่ที่ตำบลบางป่า อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี บิดาชื่อนายนับ ส่วนมารดาชื่อนางตาล ประสัตถพงศ์ ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย

ประวัติการศึกษา

ศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเทวานุเคราะห์ กองบินน้อยที่ 4 โคกกระเทียม อ.เมือง จ.ลพบุรี จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แล้วมาศึกษาต่อที่โรงเรียนประชาบาลวัดพเนินพลูจนจบชั้น ป. 4 ในปี พ.ศ. 2480

การศึกษาพระปริยัติธรรม

  • พ.ศ.2480 เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสัตตนารถปริวัตร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยมีพระธรรมเสนานี (เงิน นันโท) เจ้าคณะจังหวัดราชบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ย้ายไปอยู่จำพรรษาที่วัดตรีญาติ ตำบลพงสวาย เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม
  • พ.ศ.2483 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี
  • พ.ศ.2484 สอบได้นักธรรมชั้นโท
  • พ.ศ.2586 สอบได้นักธรรมชั้นเอก และสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค
  • พ.ศ.2488 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค
  • พ.ศ.2490 ย้ายไปจำพรรษา ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินตากโร)
  • พ.ศ.2491 เข้าพิธีอุปสมบทเป็นภิกษุ ณ มหาพัทธสีมาวัดราชบพิธฯ และสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค
  • พ.ศ.2493 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค
  • พ.ศ.2500 สมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นนักศึกษา รุ่นที่ 5 จบศาสนศาสตร์บัณฑิต
  • พ.ศ.2509 ได้เข้าอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เป็นพระธรรมทูตรุ่นแรก ก่อนเดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ที่มหาวิทยาลัยพาราณสี ประเทศอินเดีย จบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ.2512
  • พ.ศ.2516 เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตนำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย โดนมีพระขันติมาโล ชาวอังกฤษ เป็นสหธรรมิก พร้อมไวยาวัจกร ตามคำนิมนต์ของประธานพุทธสมาคมแห่งรัฐนิวเซาธ์เวลส์
  • พ.ศ. 2552 สภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ถวายศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์
  • พ.ศ. 2553 สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ

ผลงานด้านต่างๆ

งานด้านการศึกษา เป็นอาจารย์สอนธรรมวินัยแก่พระภิกษุ-สามเณร, กรรมการสนามหลวงแผนกธรรมและแผนกบาลี, กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหากุฏราชวิทยาลัย, มอบทุนสงเคราะห์แก่ผู้เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เป็นต้น

งานด้านสาธารณูปการ เป็นประธานอำนวยการฝ่ายบรรพชิต พระมหาธาตุเจดีย์และเขตพุทธาวาสเฉลิมพระเกียรติในวโรกาวฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และฉลองมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ วัดธัมมธโร กรุงแคนเบอร์ร่า ประเทศออสเตรเลีย และเป็นประธานสร้างวัดแหล่งทองแดงพรหมสราราม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม เป็นต้น

งานด้านการสาธารณสงเคราะห์ เป็นรองประธานกองทุนวัด ช่วยวัดของมหาเถรสมาคม ให้ความช่วยเหลือเมื่อมีอุบัติภัย วาตภัย อุทกภัย หรือภัยแล้ง นำเงินบริจาคเพื่อสงเคราะห์ผู้ประสบภัยนั้นๆ ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ลำดับสมณศักดิ์

  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2514 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระปริยัติกวี
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2524 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสารสุธี ศรีปริยัติวราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2533 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธาภรณ์ สุนทรธรรมานุนายก วิสุทธิสาธกสาธุกิจ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมเมธาภรณ์ สุนทรวาสนวงศวิวัฒ ศรีปริยัติกิจจานุกิจ ปาพจนวิภูษิตคุณาลงกรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2543 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระสาสนโสภณ วิมลญาณอดุลสุนทรนายก ตรีปิฎกธรรมาลังการภูษิต ธรรมนิตยสาทร ศาสนกิจจานุกร ธรรมยุติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ พิพัฒนพงศ์วิสุต พุทธปาพจนานุศาสน์ วาสนวรางกูร วิบูลศีลสมาจารวัตรสุนทร ตรีปิฎกธรรมวราลงกรณวิภูษิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี
  • 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สุขุมธรรมวิธานธำรง สกลมหาสงฆปริณายก ตรีปิฎกธราจารย อัมพราภิธานสังฆวิสุต ปาพจนุตตมสาสนโสภณ กิตตินิรมลคุรุฐานียบัณฑิต วชิราลงกรณนริศรปสันนาภิสิตประกาศ วิสารทนาถธรรมทูตาภิวุฒ ทศมินทรสมมุติปฐมสกลคณาธิเบศร ปวิธเนตโยภาสวาสนวงศวิวัฒ พุทธบริษัทคารวสถาน วิบูลสีลสมาจารวัตรวิปัสสนสุนทร ชินวรมหามุนีวงศานุศิษฏ บวรธรรมบพิตร สมเด็จพระสังฆราช

สรุป

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับวงการศาสนาพุทธและเป็นเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ดี เอาใจใส่ในหน้าที่การงาน ไม่เพียงเท่านั้นยังเพียบพร้อมไปด้วยความรู้ที่หลากหลาย ประสบการณ์ในการทำงาน พร้อมทั้งความตั้งใจแน่วแน่ในการทำนุบำรุงรักษาพระพุทธศาสนา

บทความแนะนำ