lottoup หวยออนไลน์
365kub คาสิโนออนไลน์

เฟซบุ๊กแฟนเพจ “วัดธรรมมงคล เถาบุญญนนท์วิหาร” ออกประกาศเรื่อง แจ้งข่าวการมรณภาพ เจ้าประคุณ สมเด็จพระญาณวชิโรดม (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) ระบุว่า เจ้าประคุณ สมเด็จพระญาณวชิโรดม (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล/ประธานกรรมการคณะสงฆ์ธรรมยุตในประเทศแคนาดา ได้ถึงแก่การมรณภาพ

ในวันอังคารที่ 22 เดือนธันวาคม พ.ศ.2563 เวลา 07.32 น. สิริอายุ 100 ปี 11 เดือน 15 วัน 80 พรรษา วัดธรรมมงคลและคณะแพทย์ผู้ดูแลรักษาจึงขอประกาศแจ้งข่าวการมรณภาพของเจ้าประคุณ สมเด็จพระญาณวชิโรดม (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) ให้ได้ทราบโดยทั่วกัน ทั้งนี้ กำหนดการอื่นๆ ทางวัดจักแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไป

เมื่อวานนี้หากเหล่าพุทธศานิกชนทั้งหลายเมื่อได้ยินข่าวนี้ต่างก็อาลัยยิ่งที่ “หลวงพ่อวิริยังค์” เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล ได้สิ้นลงแล้ว หลวงพ่อท่านได้ถูกยกย่องว่าเป็นพระนักปฏิบัติ ประกอบกิจเป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา ให้การศึกษาภิกษุ สามเณร ตลอดจนนักเรียน นักศึกษา จนได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระญาณวชิโรดม

เพื่อเป็นการเชิดชูในคุณความดี การปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบของ หลวงพ่อวิริยังค์ ตรวจหวย จึงขอแชร์ประวัติหลวงพ่อเพื่อเป็นธรรมทาน ให้แก่บรรดาศิษยานุศิษย์ อุบาสก อุบาสิกา และทุก ๆ ท่านที่ได้เข้ามาเยี่ยมชม สำหรับเป็นแบบอย่างในการทำความดี

ชีวิตในวัยเด็ก

หลวงพ่อ ชื่อเดิม วิริยังค์ บุญฑีย์กุล เกิดวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2463 ณ บ้านพักบริเวณสถานีรถไฟปากเพรียว ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี เนื่องด้วยผู้เป็นบิดา เข้ารับราชการเป็นนายสถานีรถไฟ จึงจำเป็นจะต้องโยกย้ายที่อยู่ไปประจำที่อื่นอยู่บ่อยครั้ง

เมื่อครั้งบิดาได้ย้ายมาประจำอยู่ ณ สถานีรถไฟบ้านใหม่สำโรง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมานับว่าเป็นความโชคดีของครอบครัว บุณฑีย์กุล ที่ได้มาพบกับพระอาจารย์ ฝ่ายกรรมฐานรูปสำคัญ “พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ” ท่านยังเป็นถึงศิษย์ของ “หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ” อีกด้วย แต่ก็ด้วยวัยที่ยังเด็กเกินไป ในขณะนั้นจึงทำให้ ยังไม่มีความสนใจในการปฏิบัติสมาธิเลยหากแต่ยังคงชอบเที่ยวเล่นสนุกไปตามประสาของเด็กทั่วๆ ไป

เมื่ออายุได้ 11 ขวบ ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดสุปัฏนาราม เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาพอที่จะอ่านออกเขียนได้แล้ว บิดา มารดาก็ส่งให้ไปอยู่วัดกลาง (ปัจจุบันคือ วัดนารายณ์มหาราช) จังหวัดนครราชสีมา เพื่อฝากเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์ปลัดตา ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดกลางในขณะนั้น ด.ช.วิริยังค์ มีความมุมานะในการเรียนบาลีไวยากรณ์ เป็นอย่างมาก

บวชสามเณร

เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี ต้องการที่ออกบรรพชาเป็นสามเณร พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ จึงได้นำบวชเป็นชีปะขาว และนำไปบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๑๖ ปี ณ วัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา โดยมี พระธรรมฐิติญาณ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ หลังจากบรรพชาแล้ว ส.ณ.วิริยังค์ ก็มาพักอยู่ที่วัดป่าสาลวันก่อน

ในขณะที่บวชเป็นสามเณรนับมีความโชคดี ได้ฝึกปฏิบัติข้อวัตรต่าง ๆ รวมถึงการปฏิบัติด้านสมาธิให้พัฒนายิ่งขึ้นกับ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้ชื่อเป็นพระผู้มีพลังจิตแก่กล้า และที่สำคัญท่านก็ยังเป็นศิษย์ของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ อีกด้วย

สาวกขององค์สัมสาสัมพุทธเจ้า

เมื่ออายุเหมาะสมแก่การอุปสมบทเป็นพระภิกษุ พระอาจารย์กงมา ท่านจึงเมตตาจัดเตรียมการอุปสมบทให้อย่างง่าย ๆ ณ วัดทรายงาม (อุทกสีมากลางทะเล) บ้านหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โดยมี พระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาทองสุข สุจิตฺโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจในการเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ ทำให้ท่านได้รับหน้าที่อันสุดประเสริฐของตัวท่านเอง คือ “การเป็นพระอุปัฏฐากรับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ อยู่เป็นเวลาทั้งสิ้น ๔ ปี” ในช่วงเวลานี้เองที่ท่านได้มีโอกาสได้จดบันทึกคำสอนของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ อันสุดแสนประเสริฐและเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันอย่างกว้างขวาง ในชื่อหนังสือ “มุตโตทัย” หลังจาก ได้อยู่อุปัฏฐากรับใช้ใกล้ชิด “หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ”

และที่เคยได้อุปัฏฐากรับใช้ “พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ” ผู้ที่ท่านนับถือว่าเป็น พระอาจารย์องค์แรก เป็นเวลา ๘ ปี รวมเป็นเวลากว่า ๑๒ ปี ท่านได้ใช้โอกาสที่ได้รับนี้ พยายามศึกษาพระธรรมวินัย ข้อวัตร และหลักการปฏิบัติสมาธิ ทั้งอย่างหยาบ อย่างละเอียด ตื้น ลึก หนา บาง จนเป็นที่แน่ใจแล้วในหลักการและแนวทางการปฏิบัติ จึงได้กราบลาพระอาจารย์แสวงหาความวิเวกส่วนตัวตามแต่โอกาสจะอำนวย

ผลงานของ หวงพ่อวิริยังค์

ปริญญากิตติมศักดิ์

  • พุทธศักราช ๒๕๓๘ ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรดุษฎีบัณทิตกิตติมศักดิ์ ด้านบริหารการพัฒนา จาก สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
  • พุทธศักราช ๒๕๔๕ ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณทิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา จาก สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา
  • พุทธศักราช ๒๕๔๕ ปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณทิตกิตติมศักดิ์ สาขาการศึกษานอกระบบ จาก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พุทธศักราช ๒๕๕๐ ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยโยนก จังหวัดลำปาง
  • พุทธศักราช ๒๕๕๓ ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณทิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย จังหวัดเชียงราย
  • พุทธศักราช ๒๕๕๔ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการเพื่อการพัฒนา จาก มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • พุทธศักราช ๒๕๕๕ ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา จาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พุทธศักราช ๒๕๕๖ ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • พุทธศักราช ๒๕๕๗ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและเทคโนโลยี จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สมณศักดิ์

  • พุทธศักราช ๒๕๐๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกที่ พระครูญาณวิริยะ (ฝ่ายวิปัสสนาธุระ)
  • พุทธศักราช ๒๕๑๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระญาณวิริยาจารย์ (ฝ่ายวิปัสสนาธุระ)
  • พุทธศักราช ๒๕๓๕ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชธรรมเจติยาจารย์ (ฝ่ายวิปัสสนาธุระ)
  • พุทธศักราช ๒๕๔๕ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเจติยาจารย์ (ฝ่ายวิปัสสนาธุระ)
  • พุทธศักราช ๒๕๕๔ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมมงคลญาณ (ฝ่ายวิปัสสนาธุระ)

โล่รางวัล

  • พุทธศักราช ๒๕๓๕ เข้ารับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักรทองคำ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • พุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้รับรางวัล มูลนิธิ คุณหญิงเบญจา แสงมะลิ สาขาพระสงฆ์
  • พุทธศักราช ๒๕๔๑ ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติบุคคลดีเด่นของกรุงเทพมหานคร เพชรกรุงเทพ สาขาศิลปวัฒนธรรม ศาสนาและการศึกษา จากกรุงเทพมหานคร
  • พุทธศักราช ๒๕๔๘ ฯพณฯ อิญาชิโอ ดิ ปาเช เอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย ทำหน้าที่ในนามรัฐบาลแห่งประเทศอิตาลี ในการทำพิธีถวายเครื่องอิสริยาภรณ์ Order of the Star of ltalian Solidarity ชั้น Knight
  • แด่พระเทพเจติยาจารย์ ผู้ก่อตั้งและประธานของซีไอดีไอ (ชนาพัฒน์)เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติแห่งผลงาน ที่ได้สร้างเสริมความร่วมมือด้วยวิชาการและวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทย
  • ประเทศอิตาลี การมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังกล่าวกระทำตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งถูกนำเสนอโดยนโยบายของกระทรวงการต่างประเทศ
  • พุทธศักราช ๒๕๕๒ ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ พระเถระผู้มีพุทธคุณูปการต่อพระพุทธศาสนา ระดับกาญจนเกียรติคุณ จาก คณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
  • พุทธศักราช ๒๕๕๓ ที่ประชุมใหญ่ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก มองรางวัลและเหรียญเชิดชูเกียรติ The World Fellowship of Buddhists Medal for Culture
  • “The WFB 25 th General Conference & 60th Anniversary 14 – 17 November B.E. 2553 (2010) Colombo, Sri Lanka”
  • พุทธศักราช ๒๕๕๗ รางวัลการส่งเสริมการศึกษาเพื่อสันติภาพ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๖โดย ดร. นิเชต สุนทรพิทักษ์ ประธานมูลนิธิการศึกษา เพื่อสันติธรรม พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต)

เหรียญหลวงพ่อวิริยังค์รุ่นแรก

แม้ว่าท่านมีลูกศิษย์นับถือเยอะ แต่หลวงพ่อก็ไม่ค่อยจะเน้นสร้างวัตถุมงคลมากนัก ถ้าจะสร้างก็เฉพาะที่จำเป็นจริงๆ เมื่อท่านสร้างวัตถุมงคลก็ต้องทำโดยวัดเป็นผู้จัดสร้าง จะไม่มีเรื่องพุทธพาณิชย์มาเกี่ยวข้อง

พระของท่านทุกรุ่นมีเจตนาการสร้างดี นอกจากท่านจะปลุกเสกเดี่ยวแล้ว ยังได้เชิญพระเกจิสายกรรมฐานมาร่วมปลุกเสกอีกมากมายในแต่ละครั้ง หลวงพ่อวิริยังค์ ท่านเป็นพระที่มีบารมีสูงมากๆ สามารถสร้างถาวรวัตถุต่างๆที่มีมูลค่านับร้อยนับพันล้านได้ภายในไม่กี่ปี

เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อวิริยังค์ วัดธรรมมงคล สร้างปี 2510 เป็นที่ระลึกงานผูกพัทธสีมาของวัดธรรมมงคล มีพุทธาภิเษกใหญ่ในสมัยนั้น เคยเห็นรูปเก่าๆของวัดธรรมมงคลที่ถ่ายรูปหมู่พระกรรมฐานที่มาปลุกเสกในงานวัดธรรมมงคล ในนั้นจะมีพระดังๆหลายรูปเท่าที่จำได้เช่น

หลวงพ่อจันทร์ เขมปัตโต
หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล
หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง เป็นต้น

เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อวิริยังค์ มี 2 แบบคือเสมาและรูปไข่

สรุป

หลวงพ่อวิริยังค์ ท่านเป็นพระภิกษุที่มีชื่อเสียงทางด้านวิปัสสนาและทำสมาธิเพื่อฝึกจิตให้มั่นคง และยังเป็นผู้ให้กำเนิด สถาบันพลังจิตตานุภาพ มีทั้งในประเทศไทยและที่ประเทศแคนาดาอีกด้วย ซึ่งสถาบันพลังจิตตานุภาพ (Willpower Institute) เป็นสถาบันที่มุ่งสอนให้ผู้คนรู้จักการทำสมาธิเพื่อเพิ่มพลังจิตแก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพและทุกศาสนา โดยปัจจุบันนี้มีสาขากว่า 130 สาขาทั่วประเทศไทย

และล่าสุดนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดสถาปนา พระพรหมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินธโร) ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ มีราชทินนามที่จารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระญาณวชิโรดม เมื่อวันที่ 2 พ.ย.2563 ที่ผ่านมา